Author Archives: janjirajs35

Microsoft เปิดตัว Windows 10

201

                 หลังจาก Microsoft เปิดตัว Windows 8 ที่เน้นความเป็นหนึ่งเดียวในทุกระบบปฏิบัติการ แต่ผลปรากฏ Microsoft ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการปรับตัวที่เร็วเกินไปทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากผู้ใช้ และ Windows 10 จะเป็นการแก้ตัวอีกครั้งของ Microsoft

Windows 10 คือ Windows ยุคใหม่ โดย Microsoft วางแผนที่จะให้มันรันได้บนทุกอุปกรณ์ ตั้งแต่หน้าจอขนาด 4 นิ้ว (สมาร์ทโฟน) ถึง 80 นิ้ว (ทีวี) โดย Windows จะไม่บังคับใช้ UI กับทุกขนาดจอ แต่ตัว Windows จะปรับให้เข้ากับหน้าจอ, วิธีการใช้งานของผู้ใช้ และวิธีการป้อนข้อมูล

ในด้านการขายแอพ Microsoft จะทำให้ store เดียวขายแอพที่รันได้ทุกขนาดจอ ซึ่งแอพเดียวสามารถรันได้ทุกอุปกรณ์เช่นกัน

 

202

Start Menu กลับมาเหมือนเดิมแล้ว แต่จะเอา Tiles ทั้งหลายมาไว้ด้านขวา

203

หน้าตาแอพแบบ Metro จะสามารถรันบนเดสก์ทอปแบบเป็นหน้าต่างได้

204

การ Snap หน้าต่างปรับปรุงไปเยอะ จากเดิมที่ Snap ได้เฉพาะบน, ซ้าย และขวา แต่ตอนนี้ Snap ได้หลายแบบ

205

Task view เป็นปุ่มที่สามารถคลิกเพื่อดูงงานที่ทำได้ทันที และดูว่ามีเดสก์ทอปไหนเปิดอยู่บ้าง ส่วน Multiple desktop ก็คือโหมดหลายหน้าจอซึ่งทำให้เราสามารถย้ายหน้าต่างไปมาได้

ที่มา : http://www.macthai.com/2014/10/01/microsoft-annouce-windows-10/

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ

  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นผิวโลกและในมหาสมุทร (earth and ocean resources satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ทรัพยากรสัตว์ป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวมหาสมุทร และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ

ดาวเทียมธีออส

  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอื่น ๆ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอื่น ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การจัดสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศ เครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ หรือเครือข่ายการบันเทิงต่าง ๆ เช่น การแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ เคเบิลทีวี เป็นต้น

tv3

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/prayochn-khxng-khxmphiwtexr

Cloud

112       111        LOGO: Twitter.twitter logo-1024x1002.jpg        109      108      107       106

105         104        103      102        101      100

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร

  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกรไทย ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลด้านการเกษตร ราคาของผลผลิตทางการเกษตร และความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในตลาดซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตได้ดีขึ้น และสามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร มีดังนี้

                     1.1 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic information Systems : GIS) เป็นระบบการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งพิกัดในแผนที่ ได้แก่ ตำแหน่งละติจูด และลองจิจูด ซึ่งจะช่วยสร้างสารสนเทศที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจทางการเกษตร เช่น แผนที่การตรวจสภาพความเหมาะสมในการส่งเสริมการปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพการแพร่ขยายของโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ สภาพภูมิประเทศ ตลอดจนประมาณน้ำในพื้นที่ เป็นต้น

12

                      1.2 เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตร ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลทางการเกษตร การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โรคระบาด การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ความรู้และอาชีพที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนการรู้จักดูแลรักษาตนให้ปลอดภัยจากโรคและสารเคมี

13

 

 

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/prayochn-khxng-khxmphiwtexr

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา

1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการศึกษาให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีดังนี้

                      1.1  วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand : VOD) เป็นระบบที่นำภาพวิดีโอมาบันทึกเป็นไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์และนำไฟล์ดังกล่าวมาเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเรียนรู้ได้ในเวลาที่สะดวก อีกทั้งยังจัดทำเป็นลักษณะของสื่อผสม (multimedia) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียนอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังจำลองสภาพจริงที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างชัดเจน ดังนั้นในท้องถิ่นห่างไกลที่ขาดบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะทาง ขาดอุปกรณ์การทดลองหรืออุปกรณ์ทางการศึกษาต่าง ๆ ก็ยังคงสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กในเมือง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำเสนอวีดีทัศน์ตามอัธยาศัย

                      1.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) เป็นหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาและซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือบางรุ่นที่มีระบบปฏิบัติการ Microsoft Mobile นอกจากนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถดาวน์โหลดหรืออ่านได้จากเว็บไซด์ทางอินเทอร์เน็ต

                      1.3 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) หมายถึง แหล่งรวมความรู้ที่มีระบบการทำงานของห้องสมุดให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ เช่น ระบบบริการยืม–คืนทรัพยากรด้วยรหัสบาร์โค้ด ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร และระบบตรวจเช็คสถิติการยืม-คืนทรัพยากร เป็นต้น ดังนั้นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                      1.4 การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (internet) หรืออินทราเน็ต (intranet) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความสนใจ โดยเนื้อหาในบทเรียนซึ่งอาจประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่น ๆ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการแสดงผลการเรียน การเรียนรู้แบบออนไลน์จะทำให้ผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ การเรียนรู้ออนไลน์จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

 

janl

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/prayochn-khxng-khxmphiwtexr

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

        1.   ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ

  • ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
  • ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
  • ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ
  • เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร
  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
  1. ช่วยให้การบริการกว้างขวางขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้านสามารถสอบถามข้อมูล ผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้

  • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการกระจายข้อมูลอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
  • เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยผ่านระบบสื่อสารและโทรคมนาคม ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันได้เกือบทุกแห่งบนโลกโดยผ่านทางสายและระบบสื่อสารดาวเทียม
  1. ช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การ    ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ   ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล   ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี      ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

  1. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

easelly_visual(1)

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/4-3-laksna-sakhay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes

คุณภาพของสารสนเทศ

คุณภาพของสารสนเทศ จะมีคุณภาพสูงมาก หรือน้อย พิจารณาที่ 3 ประเด็น ดังนี้ (Bentley 1998 : 58-59)

1. ตรงกับความต้องการ (Relevant) หรือไม่ โดยดูว่าสารสนเทศนั้นผู้ใช้สามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพได้ มากกว่าไม่ใช้สารสนเทศ หรือไม่ คุณภาพของสารสนเทศ อาจจะดูที่มันมีผลกระทบต่อกิจกรรมของผู้ใช้ หรือไม่ อย่างไร

2. น่าเชื่อถือ (Reliable) เพียงใด ความน่าเชื่อถือมีหัวข้อที่จะใช้พิจารณา เช่น ความทันเวลา (Timely) กับผู้ใช้ เมื่อ ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้มีสารสนเทศนั้น หรือไม่ สารสนเทศที่นำมาใช้ต้องมีความถูกต้อง (Accurate) สามารถพิสูจน์ (Verifiable) ได้ว่าเป็นความจริง ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

3. สารสนเทศนั้นเข้มแข็ง (Robust) เพียงใด พิจารณาจากการที่สารสนเทศสามารถเคลื่อนตัวเองไปพร้อมกับ

image

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำ IT มาใช้

จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่

1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ

easelly_visual

บทบาทของสารสนเทศ (Role of Information)

การนำสารสนเทศไปใช้ 3 ด้าน ดังนี้ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 5) ด้านการวางแผน ด้านการตัดสินใจ และ ด้านการดำเนินงาน นอกจากนั้น สารสนเทศยังมีบทบาท ในเชิงเศรษฐกิจ ดังนี้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 7-8)

  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
  2. ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงานขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น
  3. ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น
  4. ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน
  5. สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณีของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น
  6. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับการเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ

34

ประเภทของระบบสารสนเทศ

image