การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา

1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการศึกษาให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีดังนี้

                      1.1  วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand : VOD) เป็นระบบที่นำภาพวิดีโอมาบันทึกเป็นไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์และนำไฟล์ดังกล่าวมาเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเรียนรู้ได้ในเวลาที่สะดวก อีกทั้งยังจัดทำเป็นลักษณะของสื่อผสม (multimedia) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียนอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังจำลองสภาพจริงที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างชัดเจน ดังนั้นในท้องถิ่นห่างไกลที่ขาดบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะทาง ขาดอุปกรณ์การทดลองหรืออุปกรณ์ทางการศึกษาต่าง ๆ ก็ยังคงสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กในเมือง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำเสนอวีดีทัศน์ตามอัธยาศัย

                      1.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) เป็นหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาและซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือบางรุ่นที่มีระบบปฏิบัติการ Microsoft Mobile นอกจากนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถดาวน์โหลดหรืออ่านได้จากเว็บไซด์ทางอินเทอร์เน็ต

                      1.3 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) หมายถึง แหล่งรวมความรู้ที่มีระบบการทำงานของห้องสมุดให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ เช่น ระบบบริการยืม–คืนทรัพยากรด้วยรหัสบาร์โค้ด ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร และระบบตรวจเช็คสถิติการยืม-คืนทรัพยากร เป็นต้น ดังนั้นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                      1.4 การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (internet) หรืออินทราเน็ต (intranet) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความสนใจ โดยเนื้อหาในบทเรียนซึ่งอาจประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่น ๆ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการแสดงผลการเรียน การเรียนรู้แบบออนไลน์จะทำให้ผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ การเรียนรู้ออนไลน์จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

 

janl

ที่มา : https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/prayochn-khxng-khxmphiwtexr

Posted on 12/09/2014, in การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น